วิธีง่ายๆที่ช่วยเพิ่ม Ranking Website ให้กับมหาวิทยาลัย

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีข่าวแจ้งที่ประชุมคณาจารย์และบุคลากรให้ทราบ 3 เรื่องดังนี้
1. ขอความร่วมมือร่วมพัฒนาการจัดอันดับของมหาวิทยาลัย Ranking
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยฯ ให้ดำเนินการดูแลสนับสนุนด้านการจัดอันดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจากการสำรวจการประชุมผู้ปกครองของนักเรียนที่มารายงานตัวพบว่า การตัดสินใจที่ส่งบุตร-หลานเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์นั้น ปัจจัยหนึ่งที่ได้รับคือมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เป็นมหาวิทยาลัยที่มี Ranking อันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มหาวิทยาลัยฯ ต้องพัฒนาเน้นการเผยแพร่ผลงานวิชาการผ่านทางเว็บไซต์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น จากเกณฑ์การประเมินของ webometrics มีการเปลี่ยนแปลงเปอร์เซ็นต์การให้คะแนนใหม่ จึงทำให้คณาจารย์และบุคลากรจำเป็นต้องพัฒนา Ranking ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัยฯ โดยพิจารณาจากเกณฑ์ดังนี้
จากเกณฑ์ดังกล่าว สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศขอเสนอแนะให้คณาจารย์และบุคลากรร่วมมือกันเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ของเราให้มีผลงานวิชาการและกิจกรรมเผยแพร่บนออนไลน์สร้างชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยฯ ให้มี Ranking อันดับที่ 1 ได้โดยสิ่งต้องทำโดยเร่งด่วนคือการสร้างบทความที่มีคุณภาพเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
โดยมีลิงก์ที่กลับมาจากเว็บไซต์อื่นๆ (Backlink) ที่เอาลิงก์ของเราไปใช้เพื่ออ้างอิงในบทความบนเว็บไซต์ หรือเป็นการแชร์เพื่อให้คนอื่นอ่านต่อ ลิงก์ประเภทนี้นับว่าเป็น Backlink ที่ดีที่สุด ส่งผลดีอย่างมากกับเว็บไซต์ของเรา และมันก็ช่วยแสดงให้เห็นว่าบทความของเรานั้นมีคุณภาพ ก็จะส่งผลต่อคะแนนที่ดีขึ้นด้วย โดยในการทำ Backlink เรามีแนวทางดังนี้
การแชร์บทความบนโซเชียลมีเดีย (Social Media)
1. เขียนบทความบนเว็บไซต์
2. ลงชื่อเข้าสู่ โซเชียลมีเดีย
3. แชร์เนื้อหา ที่อยู่บนเว็บไซต์ไปยังโซเชียลมีเดีย ที่ต้องการ มีอยู่สองวิธีการ คือ
3.1 Copy URL บทความบนเว็บไซต์ที่ต้องการแชร์ ลงใน โซเชียลมีเดีย
วาง URL ที่ Copy มาลงไปบนพื้นที่โพสบน โซเชียลมีเดีย จากตัวอย่างคือการโพสลงบน Facebook
เมื่อข้อความและรูปภาพประกอบปรากฏขึ้นดังภาพ ให้ลบ URL ออก และทำการพิมพ์ ชื่อเรื่องหรือข้อความที่ต้องการประชาสัมพันธ์แทนลงไป เนื่องจากชื่อเรื่องที่ปรากฏบน Facebook ถูกตัดทอนออกไป ทำให้ข้อความไม่ครบถ้วน
3.2 แชร์โดยการใช้ปุ่ม Share Content ที่ถูกติดตั้งไว้บนเว็บไซต์ จากหน้าบทความ
โดยส่วนมากจะปรากฏอยู่เริ่มต้นของบทความ และตอนท้ายของบทความ โดยถ้าผู้อ่านรู้สึกชอบบทความของเรา เขาสามารถที่จะกดแชร์ได้ง่ายหลังจากที่อ่านจบได้เลยโดยที่ไม่ต้องการ Copy URL โดยเลือกแชร์ ตามโซเชียลมีเดีย ที่ต้องการโดยสังเกตจาก Icon ดังภาพด้านล่าง
** หากเป็นการแชร์ไปยัง twitter แนะนำให้แชร์จากปุ่ม Share Content แทนการ Copy URL เนื่องจากการโพสบน Twitter มีการกำหนดความยาวอักษรไม่เกิน 140 ตัวอักษร
หรือหากต้องการแนบลิ้งก์ โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แนะนำให้ทำการ Shorten URL หรือ การตัด URL ให้สั้นลง เพื่อประหยัดพื้นที่ในการโพส โดยขั้นตอนในการทำ Shorten URL มีดังนี้
1. เข้าเว็บไซต์ https://bitly.com
2. Copy URL ที่ต้องการทำ Shorten URL วางลงไปในช่อง และกดปุ่ม Shorten
หลังจากนั้นจะปรากฏ Shorten URL ที่ได้ทำการตัดทอนให้เรียบร้อยแล้ว กดปุ่ม Copy และนำไปวางบน Twitter
เปรียบเทียบลิงค์ ก่อนและหลังการทำ Shorten URL
ก่อน
หลัง
ข้อควรตระหนักในการแชร์บทความ
1. แชร์บทความที่มีคุณภาพ มีประโยชน์กับผู้อ่าน หากเราไม่เขียนบทความที่มีคุณภาพ การแชร์บทความใดก็ไร้ความหมาย เนื่องจากไม่มีผู้อ่าน ฉะนั้น เนื้อหาบทความจึงเป็นหัวใจหลักของทั้งปวงก่อนที่จะการขั้นต่อไป
2. เลือกแชร์บทความในเว็บไซต์หรือกลุ่ม ที่เป็นที่นิยมในการเข้าชม
3. การนำลิ้งค์บทความไปแชร์ในกลุ่ม หรือในเพจ ควรเป็นกลุ่มที่นำเสนอหรือสนใจในเนื้อหาสอดคล้องกับเนื้อหาของบทความที่เรานำเสนอ เช่นเนื้อหาบทความที่เรานำเสนอเป็นเรื่องเกี่ยวกับดนตรี กลุ่มหรือเพจควรมีความสนใจเกี่ยวกับเพลง หรือดนตรี ไม่ใช่สนใจเกี่ยวกับเรื่องอาหาร เป็นต้น หากแชร์ในกลุ่มที่ไม่มีความสนใจเหมือนกัน อาจส่งผลให้บุคคลในกลุ่มเกิดความรู้สึกติดลบกับบทความของท่าน หรือไม่เข้ามาอ่านบทความของท่านอีกเลย
4. ทำการแชร์บทความอย่างสม่ำเสมอ หรือทำทุกวัน
2. ผลการวัดสมรรถนะด้านการรู้ดิจิทัลให้กับนักศึกษาปีที่ 4
ศูนย์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการอบรมและวัดสมรรถนะด้านการรู้ดิจิทัลให้กับนักศึกษาชั้นปี 4 ที่กำลังจะจบการศึกษา ในวันที่ 20-22 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยใช้เครื่องมือวัดสมรรถนะของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจลสังคมสร้างการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาทักษะดิจิทัลเบื้องต้น (Digital Literacy) โดยมีผู้เข้าสอบทั้งหมด 2,121 คน ผ่านเกณฑ์ 1,564 คน คิดเป็นร้อยละ 73.74 โดยผลการประเมินแยกตามรายคณะดังนี้
คณะ | เข้าสอบ | ผ่าน | ร้อยละ |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | 368 | 258 | 70.11 |
คณะวิทยาการจัดการ | 571 | 446 | 78.11 |
คณะวิทยาศาสตร์ | 467 | 368 | 78.80 |
คณะครุศาสตร์ | 469 | 357 | 76.12 |
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม | 158 | 82 | 51.90 |
คณะเทคโนโลยีการเกษตร | 88 | 53 | 60.23 |
รวม | 2,121 | 1,564 | 73.74 |
หมายเหตุข้อมูล ณ วันที่ 30 มีนาคม 2563
3. ผลการสำรวจความพึงพอใจในการอบรมการใช้โปรแกรมการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 ดาวน์โหลด
1. |
การแชร์บทความบนโซเชียลมีเดีย.pdf
-
ดาวน์โหลด 1339 ครั้ง
|
2. |
ผลแบบสำรวจความพึงพอใจ ผู้ตอบแบบสอบถาม.pdf
-
ดาวน์โหลด 291 ครั้ง
|
istanbul evden eve nakliyat evden eve nakliyat sehirler arasi nakliyat